8 กันยายน 2563

ยุค5G/6G

 ยุค  5G/6G   ,  Iot  , AI



ช่วงนี้ใครหลายๆคนอาจได้ยินคำว่า 5G กันมาบ้าง แล้ว 5G คืออะไร? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน 5G คือ Generation ใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่จะมาแทนที่ระบบ 4G ที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันจะไม่จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT)

ก่อนจะไปถึง 5G ลองมาไล่เลียงเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายในแต่ละยุคกัน

เริ่มจากในยุคแรก 1G เราพูดคุยกันด้วยเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก ต่อมาเราเริ่มส่งข้อความ MMS หากันในยุค 2G จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ เมื่อเข้าสู่ยุค 3G เราสามารถเชื่อมต่อและเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น (อยู่ระหว่าง 220 Kbps ถึง 42.2 Mbps) จนเข้ามาถึงยุค 4G เราสามารถดูภาพ และเสียงหรือหนังออนไลน์ได้เนื่องจากมีความเร็วหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น 4G LTE (100 Mbps), LTE Advanced (1 Gbps) ตอนนี้คุณพร้อมหรือยัง? ที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 5G

5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?

  • ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที
  • รองรับการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
  • ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
  • รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.



ประโยชน์ของ 5G

สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต


6g คืออะไร และมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต

คุณผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่า 5g กันมาบ้าง ซึ่งคำนี้บ่งบอกถึงความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสร้างการสื่อสารที่มีความรวดเร็วในระดับสูง แต่คุณก็อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า 6g กันสักเท่าไหร่นัก ซึ่งเรามาดูกันดีกว่า6g นี้มีความสำคัญกว่า 5g อย่างไรและมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องใดบ้าง

6g ความเร็วเปลี่ยนอนาคต

ก่อนที่คุณจะไปทำความเข้าใจกับความเร็วในระดับ 6g นั้น มาทำความรู้จักกับความสำคัญของระบบ 5g กันก่อนดีกว่า ซึ่งต้องบอกก่อนว่าระบบ 5g นั้น มีการพัฒนามาอย่างก้าวกระโดดมากกว่า มาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นอย่างมาก ความเร็วนั้นของ 5g นั้นเหนือกว่าความเร็วของ 4G เรียกได้ว่าไม่อาจเทียบกันได้เลย โดยความเร็วของ 5g นั้นจะมีความเร็วประมาณ 220Gbps  ซึ่งถ้าเทียบกับ 4G แล้วจะมีความเร็วมากกว่า 100 – 200 เท่า เท่านั้นยังไม่พอความน่าสนใจของ 5g อีกประการหนึ่ง ก็คือ LOW LATENCY RATE  ซึ่งก็คือความเร็วในการตอบสนองต่อข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสั่งงานพร้อมทั้งควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วฉับไวหรือเรียกได้ว่าแทบจะทันทีทันใดนั้นเดี๋ยวนั้น

แล้วอย่างนี้ 6g จะดีกว่าอย่างไร?

ซึ่งความแตกต่างอันดับ 1 ก็คือในเรื่องของความเร็ว โดยในปัจจุบันนี้ 6g กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา แต่ก็มีการวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าความเร็วของ 6g นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1 TERABIT/วินาที หรือพูดง่ายๆ ก็คือประมาณ 100 เท่าของ 5g และจะมีในเรื่องของ AI เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สำหรับความเร็วในระดับนี้จะทำให้การประมวลผลของ AI เชื่อมต่อการทำงานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความสามารถในการช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้งานได้ทันที ถึงแม้ปัญหานั้นจะมีความซับซ้อนมากก็ตาม ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ในเมือง NEW YORK ประเทศสหรัฐอเมริกาใน 1 วันจะมีรถยนต์จำนวนประมาณ 3 ล้านคันวิ่งเข้าออกในเมืองหลวงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสมองกล AI จะทำการประมวลผล เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาในเรื่องของรถติดจำนวนมหาศาลเลย

6g คือความเร็วแห่งอนาคต

6g คือ เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแห่งโลกอนาคตโดยแท้จริง เพราะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เองวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เอง จากการสืบค้นข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยในยุค 6g นั้นจะเป็นยุคที่การสื่อสาร ได้รับการแก้ไขในเรื่องคลื่นรวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสาน สำหรับความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อระบบ AI นั้นทำงานผ่าน Application ไปได้สักพักหนึ่ง มันก็จะเริ่มเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น เรียนรู้เรื่องการขับยานพาหนะ, เรียนรู้เรื่องการทำการเกษตรและเมื่อมันสะสมความรู้ได้มากพอหลังจากนั้นก็จะเกิดการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองตามมา

เท่านั้นยังไม่พอระบบ AI ก็จะมีการสั่งการจากการเรียงลำดับของข้อมูลที่ผ่านเข้ามา พร้อมเลือกการตัดสินใจที่มันคิดว่าดีที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล และทางระบบก็จะมีการปรับตัวให้เข้ากับการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การขับขี่รถยนต์แบบอัตโนมัติด้วย AI ซึ่งสั่งการให้มันขับในเส้นทางเดิมทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าในวันหนึ่งคุณต้องการที่จะต้องให้มันขับรถออกนอกเส้นทาง คราวนี้ระบบก็จะต้องมีการดึงข้อมูล เพื่อประมวลผลแผนที่พร้อมทั้งคำนวณเส้นทางในการเดินทาง ทำให้เกิดการตัดสินใจในระดับใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ข้อมูลที่ส่งมานี้จัดเป็นแนวทางในการสร้าง 6g ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงๆ ก็คงจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์และอำนวยความสบายให้ได้มากขึ้นเป็นอย่างมากเลยทีเดียว




25 สิงหาคม 2563

 Big Data คืออะไร

คำจำกัดความของ Big Data

เพื่อให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Big Data มีมากขึ้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำจัดความของคำว่า Big Data กันก่อน ในราวๆปี 2001 Gartner ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า Big Data ไว้ว่า เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลาย มีปริมาณมากๆ และมีความเร็วมากๆ ซึ่งรู้จักกันในนาม 3Vs (สามวี)

พูดให้ง่ายๆคือ Big Data คือปริมาณข้อมูลที่มาก มีความซับซ้อน โดยเฉพาะที่มาจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ด้วยปริมาณที่มากมายมหาศาลทำให้ไม่สามารถประเมินและวิเคราะห์ด้วยวิธีการ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์แบบเดิมๆ แต่ข้อมูลมากมายมหาศาลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทางธุรกิจที่ในอดีตไม่สามารถใช้ได้

3Vs ของ Big Data

V ที่1 คือ VOLUME

ปริมาณข้อมูลที่มากเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ในปริมาณข้อมูลที่มากมายมหาศาลนั้นที่เราจะต้องประมวลผลนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง มีความหนาแน่นของข้อมูลต่ำ และข้อมูลพวกนี้อาจเป็นข้มมูลที่ไม่ทราบค่า เช่น ฟีดข้อมูลของเฟสบุ๊ค ทวีทเตอร์ การคลิ๊กบนเวปไซท์หรืออุปกรณ์แอพพลิเคชั่นต่างๆ หรืออุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ บางองค์การอาจมีข้อมูลให้ประมวลผลเป็นสิบๆเทราไบต์ หรือบางองกรค์อาจมีเป็น ร้อยๆเพตะไบต์

V ที่2 คือ VELOCITY

คือความเร็วของการรรับข้อมูลหรืออาจเป็นการกระทำใดๆ โดยปกติก็เป็นความเร็วสูงสุดที่ทำการสตีมข้อมูลลงในหน่วยความจำโดยตรงกับการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับอินเตอร์เนตในสมัยนี้ก็เป็นการทำงานแบบเรียลไทม์หรือเกือบๆจะเรียลไทม์ ซึ่งจะต้องมีการประมวลผลแบบเรียลไทม์

V ที่ 3 คือ VARIETY

Variety คือความหลากหลายของชนิดข้อมูล ข้อมูลในสมัยก่อนมักเป็นพวกข้อมูลที่เป็นโครงสร้างและมีความพอดีกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ปัจจุบันข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง เช่น ข้อมูลแบบตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ซึ่งต้องการการประมวลผลเพิ่มเติม เพื่อที่จะแปลความหมาย และหารายละเอียดคำอธิบายของข้อมูล (meta data)

คุณค่าและความจริงของข้อมูล Big Data

Big Data ในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ได้เพิ่มมาอีก 2 Vs คือ Value และ veracity ซึ่งคุณค่าและความจริง ซึ่งข้อมูลมันมีค่าอยู่ในตัวของมันเอง แต่มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราค้นไม่พบคุณค่าของมัน และความจริงของข้อมูลและความน่าเชื่อถือว่าเราจะเชื่อถือได้มากแค่ไหน ก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันทั้งคุณค่าและความจริงของข้อมูล

ในปัจจุบัน Big Data ได้กลายเป็นทุนหรือทรัพย์สินไปแล้ว ในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่บางบริษัทมูลค่าของบริษัทเกิดมาจากข้อมูลของเขา และในขณะนี้เขาก็วิเคราะห์และประมวลผลเพื่อเพิ่มมูลค่าของข้อมูลให้สูงชึ้นไปอีกและด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งเสริมให้ราคาของอุปกรณ์การเก็บข้อมูลและคอมพิวเตอร์ลดลงแบบก้าวกระโดด ทำให้การเก็บข้อมูลง่ายและมีราคาถูก การเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทำได้ง่ายๆและมีราคาถูก ทำให้การตัดสินใจด้านธุรกิจมีความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

การค้นหามูลค่าของข้อมูล Big Data มันไม่ใช่แค่การวิเคราะห์ธรรมดาเท่านั้น แต่มันต้องมีกระบวนการขั้นตอนทั้งหมด ซึ่งมีตั้งแต่การวิเคราะห์เชิงลึก ความต้องการของธุรกิจ ความสามารถในการถามข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้บริหาร การจดจำรูปแบบ การให้ข้อมูลสำหรับสมมุติฐานต่างๆ และการทำนายพฤติกรรม เป็นต้น

ประวัติและความเป็นมาของ Big Data

ถึงแม้ว่าแนวคิดเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data จะเป็นของใหม่และมีการเริ่มทำกันในไม่กี่ปีมานี้เอง แต่ต้นกำเนิดของชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้มีการริเริ่มสร้างมาตั้งแต่ยุค 60 และในยุค 70 โลกของข้อมูลก็ได้เริ่มต้น และได้พัฒนาศูนย์ข้อมูลแห่งแรกขึ้น และทำการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ขึ้นมา

ประมาณปี 2005 เริ่มได้มีการตะหนักถึงข้อมูลปริมาณมากที่ผู้คนได้สร้างข้นมาผ่านสื่ออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ยูทูป และสื่ออนไลน์แบบอื่นๆ  Hadoop เป็นโอเพ่นซอร์สเฟรมเวิร์คที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกันให้เป็นที่เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และในช่วงเวลาเดียวกัน NoSQL ได้ก็เริ่มขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้น

การพัฒนาโอเพนซอร์สเฟรมเวิร์ค เช่น Hadoop (และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มี Spark) มีความสำคัญต่อการเติบโตของข้อมูลขนาดใหญ่ เนื่องจากทำให้ข้อมูลขนาดใหญ่ทำงานได้ง่าย และประหยัดกว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนยังคงสร้างข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่แค่มนุษย์ที่ทำมันขึ้นมา

การพัฒนาการของ IOT (Internet of Thing) ซึ่งเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตก็ทำการเก็บและรวบรวมข้อมูลซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า ประสิทธิภาพของสินค้า หรือการเรียนรู้ของเครื่องจักรพวกนี้ล้วนทำให้มีข้อมูลขนาดใหญ่

แม้ว่ายุคของข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data มาถึงและได้เริ่มต้นแล้ว แต่มันก็ยังเป็นเพียงแต่ช่วงแรกๆ และระบบระบบคลาวด์คอมพิวติ้งก็ได้ขยายความเป็นไปได้มากขึ้น คลาวด์มีความสามารถในการในการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นได้

ตัวอย่างการนำ Big Data ไปใช้

ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ช่วยให้เราสามารถจัดการงานทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ตั้งแต่การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เป็นต้น ต่อนี้ไปเป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ข้อมูล Big Data

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

บริษัท Netflix และ บริษัท  Procter & Gamble ได้ใช้ข้อมูล Big Data ช่วยในการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า พวกเขาสร้างโมเดลเชิงคาดการณ์สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยการจำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของผลิตภัณฑ์หรือบริการในอดีตและปัจจุบันและสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเหล่านี้กับความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ของข้อเสนอ นอกากนี้ยังมีบริษัท P&G ยังใช้ข้อมูลของสื่อสังคมออนไลน์ในการวิเคราะห์ ในการทดสอบตลาดและเปิดตัวสินค้าในช่วงต้น เพื่อวางแผนการผลิตและเปิดตัวสินค้าใหม่

การคาดการณ์เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร

ปัจจัยที่ใช้ทำนายการชำรุดของเครื่องจักรนี้ มาจากข้อมูลทั้งที่เป็นแบบมีโครงสร้างเช่น วันเดือนปี ที่ผลิต รุ่น และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง เช่นข้อมูลจากเว็นเซอร์ต่างๆ เช่นอุณภูมิของเครื่องยนต์ การทำงานผิดปกติของเครืองจักร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการวิเคราะห์ก่อนที่จะเกิดปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อกำหนดตารางซ่อมบำรุง เพื่อประหยัดงบการซ่อมบำรุง และรวมไปถึงการสต๊อกอะไหล่ต่างๆ เพืท่อให้การซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลา และประหยัดงบประมาณ


สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

ในสภาวะการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน การเสนอประสบการณ์และข้อเสนอที่ดีที่สุดและตรงใจแก่ลูกค้าที่สุดก็จะเป็นผู้ได้เปรียบในการแข่งขัน ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ช่วยให้ธุรกิจรวบรวมข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เข้าชมเว๊ปไซท์ ผู้เข้าใช้แอพพลิเคชั่น ข้อมูลการตอบโต้ทางโทรศัพท์ ข้อมูลการสนทนาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อช่วยให้ปรับปรุงการสื่อสารกับลูกค้า และเพิ่มมูลค่าให้ได้มากที่สุดด้วยการส่งข้อเสนอสุดพิเศษให้ตรงใจกับลูกค้า และยังช่วยแก้ปัญหาที่เกิดกับลูกค้า เป็นการแก้ปัญหาเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจสอบการโกงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

การโกงในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตไม่ได้มีเฉพาะจากแฮกเกอร์เท่านั้น ซึ่งเราจะต้องเผชิญกับผู้เช่ยวชาญในหลายๆรูปแบบ ในระบบการรักษาความปลอดภัยสมัยใหม่นี้ได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทำให้เราระบุรูปแบบของข้อมูลที่เข้าในรูปที่มิชอบ และไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของเราได้

การเรียนรู้ของเครื่องจักร Learning Machine

การเรียนรู้ของเครื่องจักร หรือ Learning Machine กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลขนาดใหญ่เป็นเหตุผลที่เราสามารถสอนเครื่องจักรได้ การมีข้อมูลขนาดใหญ่ทำให้ง่ายในการเตรียมข้อมูลในการสอนเครื่องจักรให้สามารถเรียนรู้ได้

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

โดยปกติประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเรามักไม่ทราบว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด แต่ในพื้นที่ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ ด้วยข้อมูลมูลขนาดใหญ่นี้ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ และเข้าถึง การผลิตหรือการปฏิบัติงานได้ การตอบรับของลูกค้า รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่จะทำให้ธุรกิจหยุดชะงักหรือขัดข้องได้ และสามารถคาดการณ์ความต้องการล่วงหน้าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data นี้ยังสามารถใช้เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้อีกด้วย

การขับเคลื่อนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถช่วยคุณในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล สถาบัน หน่วยงาน องค์กร และกระบวนการ และดำเนินการกำหนดวิธีการใหม่ในการใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้น ใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องการเงิน วางแผนและพิจารณาแผนงาน ตรวจสอบแนวโน้มและสิ่งที่ลูกค้าต้องการ นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ใช้การกำหนดราคาแบบไดนามิก ที่มีความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด

Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ มันทำงานอย่างไร

ข้อมูลขนาดใหญ่ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เพื่อเปิดโอกาสและรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ การเริ่มต้นใช้งานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญดังนี้

การรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลของ Big Data เป็นการรวบรวมข้อมูลของจากหลากหลายทั้งที่มาและการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ซึ่งกลไกและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ETL (extract, transform, and load) ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง Big Data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ต้องการเทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีใหม่ในการรวบรวมข้อมูลขนาด เทราไบต์ และอาจจะเป็นระดับเพธาไบต์เลยก็มี

ในการรวบรวมข้อมูลนั้นต้องมีการประมวลผล จัดรูปแบบ ให้เหมาะสำหรับการใช้ในการวิเคราะห์หรือใช้งานสำหรับธุรกิจหรือวัตถุประสงค์นั้นๆ

การจัดการข้อมูล

ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data นั้นมีความต้องการสถานที่จัดเก็บขนาดใหญ่ การจัดเก็บข้อมูลมูลขนาดใหญ่จะเป็นชนิดใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นแบบ on premises หรือ แบบ cloud ขึ้นกับความต้องการหรือความสะดวกในการใช้ ซึ่งเราสามารถใช้และประเมินผลได้เช่นเดียวกัน บางครั้งก็มีความจำเป็นที่ต้องจัดเก็บไว้ใกล้กับแหล่งข้อมูล หรือข้อมูลบางอันต้องการความยืดหยุ่นสูงและไม่ต้องการบริหารจัดการก็ใช้เป็นแบบ Cloud ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก

การวิเคราะห์

การลงทุนสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big data จะมีประโยชน์หรือคุ้มค่าก็ต่อเมื่อคุณใช้และวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เกิดความกระจ่างและชัดเจนในชุดข้อมูลที่คุณมีอยู่ การสำรวจข้อมูลยังทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ แชร์สิ่งที่ค้นพบใหม่ๆต่อคนอื่น สร้างรูปแบบจำลองข้อมูล ด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจักรและปัญญาประดิษฐ์ AI และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน

 ข้อมูลมีคุณค่า

“ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ มีปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากผู้ใช้ที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล มีการใช้ศาสตร์ที่เรียกว่าวิทยาการข้อมูล (data science) ซึ่งมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของข้อมูล และในขณะเดียวกันผู้ใช้จะได้รับความรู้จากข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิทยาการข้อมูลด้วย” — หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ ม.5)

ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (Information Age)

ในยุคของข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่าย

การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา

  • แผนที่กระดาษในรูปแบบเดิม ไม่สามารถแสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน และไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้ แต่ระบบแผนที่นำทาง (Global Positioning System: GPS) นอกจากแสดงสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีข้อมูลสภาพการจราจร ระยะเวลาเดินทาง ซึ่งมีความแม่นยำ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
Image for post

ในปัจจุบัน เราไม่เป็นเพียงผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน

  • การอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมล์ในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ ผู้ใช้คนอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
  • จัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีความสำคัญ แต่หากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผล ก็จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ ดังคำกว่าที่ว่า “ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ”
Image for post

บริษัทต่างๆ นำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ทำให้เกิดมูลค่ามหาศาล เช่น บริษัทให้บริการจองโรงแรมที่พัก แท็กซี่ ขายสินค้าออนไลน์ และบริการสื่อสังคม (social media)

เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริษัทให้บริการสื่อสังคม มีผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่สามารถสร้างรายได้จากการขายโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (user-targeted advertisements) ของบริษัทสินค้าและบริการ

Image for post

  • เฟซบุ๊ก รวบรวมข้อมูลผู้ใช้ เช่น เพศ อายุ ที่อยู่ อาชีพ รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ผู้ใช้กระทำผ่านเฟซบุ๊ก ได้แก่ การกดไลค์ (like) กดแชร์ (share)
  • เฟซบุ๊ก นำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเป็นสารสนเทศที่บอกคุณลักษณะของผู้ใช้ และใช้สารสนเทศนี้ในการนำเสนอหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ
  • บริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการ จะจ่ายค่าโฆษณาให้กับเฟซบุ๊ก เช่น บริษัทธุรกิจรถยนต์ ธนาคาร อาหาร-เครื่องดื่ม โทรศัพท์มือถือ ร้านค้า เกมออนไลน์
  • การนำข้อมูลดิจิทัลที่มีอยู่มหาศาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ และอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ เป็นอาชีพที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคของข้อมูลและสารสนเทศนี้


วิทยาการข้อมูล (Data Science)

       ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานข้อมูลว่าประสบปัญหาขาดแคลนผู้มีทักษะการวิเคราะห์เชิงลึก และการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อให้ได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร การทำงานในลักษณะนี้ ต้องอาศัยความรู้และทักษะผสมผสานศาสตร์หลายด้านเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า “วิทยาการข้อมูล”

  • วิทยาการข้อมูล เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ วิธีการ หรือเทคนิค ในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เข้าใจปรากฏการณ์ ใช้ตีความ ทำนาย พยากรณ์ ค้นหารูปแบบ แนวโน้มจากข้อมูล และสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอด เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด
Image for post
Image for post

  กำลังโหลด…